
การถอนฟัน
การถอนฟันอาจเกิดได้จากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นจากอาการฟันผุที่ลุกลามเข้าไปถึงโพรงประสาทฟัน เกิดเป็นตุ่มหนองที่ปลายรากฟัน ฟันซ้อนที่มีผลต่อการจัดฟัน ฟันที่ไม่สามารถขึ้นได้ตามปกติและมีผลกระทบต่อฟันซี่อื่น(ฟันคุด) ฟันแตกเป็นแนวดิ่งที่ไม่สามารถเก็บไว้ได้ ทันตแพทย์จะแนะนำให้คนไข้ทำการถอนฟันซี่นั้นๆ ออก เพื่อเป็นการรักษาฟันซี่อื่นให้คงอยู่ในช่องปากได้ ไม่ให้เกิดปัญหาตามมา
โดยปกติการถอนฟันเป็นการรักษาที่ปลอดภัย ไม่ซับซ้อน แต่ในกรณีที่ถอนฟันผุ อาจมีความเสี่ยงต่อการแทรกซ้อนที่เชื้อแบคทีเรียจะแพร่กระจายเข้าสู่เนื้อเยื่ออื่นๆ ทันตแพทย์อาจมีการให้ยาปฏิชีวนะก่อนและหลังการรักษา สำหรับคนไข้บางรายที่มีโรคประจำตัวที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ หากคนไข้จะต้องถอนฟัน และมีโรคหรืออาการตามที่ระบุข้างล่างนี้ ให้แจ้งทันตแพทย์ก่อนทำการรักษา
-
ระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง
-
โรคตับ
-
มีปัญหาเกี่ยวกับลิ้นหัวใจ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ใช้ลิ้นหัวใจเทียม
-
มีประวัติผ่าตัดใส่ข้อเทียม เช่น ข้อเข่าเทียม ข้อต่อสะโพกเทียม เป็นต้น
-
24 ชั่วโมงแรก หลังการถอนฟัน ควรหลีกเลี่ยงการบ้วนปาก เพราะจะทำให้เลือดหยุดไหลยาก
-
สามารถแปรงฟันได้ตามปกติ แต่หลีกเลี่ยงการแปรงโดนบริเวณแผล หลังถอนฟัน 1 วัน
-
งดการออกกำลังกาย หรือการใช้แรงทุกรูปแบบ
-
งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ งดรับประทานอาหารรสจัด
-
หากมีอาการผิดปกติ เช่น ปวด บวมมาก ให้นัดพบทันตแพทย์ เพื่อดูอาการ

การดูแลรักษาหลังเข้ารับการถอนฟัน
-
กัดผ้าก๊อซบริเวณแผล 1 ชั่วโมง หรือจนกว่าเลือดจะหยุดไหล ห้ามบ้วนน้ำลาย หรือนอนหลับในขณะยังกัดผ้า ก๊อซอยู่
-
ควรประคบเย็น โดยห่อน้ำแข็งประคบนอกปาก บริเวณที่ถอนฟัน ห้ามอมน้ำแข็ง
ภาวะแทรกซ้อนจากการถอนฟัน
ผลข้างเคียงที่พบได้มากสุด คือ การบาดเจ็บของเนื้อเยื่อในช่องปาก เหงือก กระพุ้งแก้ม และอาจเกิดผลข้างเคียงในรายที่มีความละเอียดอ่อนมากๆ เช่น การถอนฟันกรามซี่ที่อยู่ใกล้โพรงจมูก ที่อาจทำให้เกิดไซนัสอักเสบ หรือการถอนฟันกรามซี่ที่ใกล้เส้นประสาทที่ควบคุมกล้ามเนื้อใบหน้า อาจเกิดการกดทับโดนเส้นประสาท ทำให้เกิดอาการหน้าเบี้ยวได้ อย่างไรก็ตาม ภาวะดังกล่าวมีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อยมาก การถอนฟัน จึงถือเป็นการรักษาที่มีความปลอดภัย
