ขูดหินปูน
หินปูนหรือหินน้ำลายนั้น เกิดจากการที่เชื้อแบคทีเรียในช่องปากทำปฏิกิริยากับเศษอาหาร ที่ตกค้างอยู่บนซี่ฟัน ตามซอกฟัน เกิดเป็นชั้นฟิล์มบางๆ ที่ฉาบเคลือบอยู่บนผิวฟัน ที่เรามักรู้จักในชื่อของคราบ “พลัค” (Plaque) เมื่อเกิดการสะสมเป็นเวลานานเข้า จะมีลักษณะเหนียว เกาะตัวแน่น และพัฒนาจนมีลักษณะแข็งเป็นหินปูน หากปล่อยเอาไว้จะเป็นอันตรายต่อสุขภาพเหงือกและฟัน เมื่อสะสมนานเข้าทำให้เกิดอาการเหงือกอักเสบ และพัฒนากลายเป็นโรคเหงือกอักเสบ และปริทันต์อักเสบ หรือที่รู้จักกันในชื่อ “ โรครำมะนาด” หลายคนอาจรู้สึกว่า แม้จะพยายามดูแลรักษาช่องปากเป็นอย่างดี แต่ก็ยังคงประสบปัญหาเรื่องหินปูน ทั้งนี้เพราะเราไม่สามารถกำจัดเชื้อแบคทีเรียและเศษอาหารออกจากช่องปากของเราได้หมด เพราะฉะนั้น การดูแลรักษาช่องปากที่ดี ด้วยการทำความสะอาดอย่างถูกวิธี เช่น การบ้วนปากหลังมื้ออาหาร การแปรงฟันถูกวิธี และการใช้เส้นไหมขัดฟันอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยลดการเกาะตัวของคราบพลัค ที่จะกลายเป็นหินปูน โดยปกติควรตรวจสุขภาพช่องปาก และรับการขูดหินปูนอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง
-
ใช้ยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์และไตรโคซาน ที่ช่วยยับยั้งการเกิดของแบคทีเรีย ลดโอกาสเกิดฟันผุ
-
หลีกเลี่ยงอาหารจำพวกแป้ง น้ำตาล อาหารรสจัด
-
หลี่กเลี่ยงการสูบบุหรี่ เนื่องจากนิโคตินในบุหรี่ และความร้อนจากบุหรี่ จะทำให้ภูมิต้านทานของเนื้อเยื่อในช่องปากลดลง
-
นัดตรวจสุขภาพช่องปากกับทันตแพทย์ ทุก 6 เดือน
ข้อแนะนำสำหรับการดูแลช่องปากเพื่อลดการสะสมของหินปูน
-
แปรงฟันและลิ้นอย่างถูกวิธี อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง และใช้เวลาแปรงไม่น้อยกว่า 30 วินาที
-
ใช้เส้นไหมขัดฟันทำความสะอาดซอกฟันอย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดการสะสมของเศษอาหาร
การดูแลรักษาหลังขูดหินปูน
-
หลังขูดหินปูน อาจมีเลือดซึมตามขอบเหงือก ให้อมน้ำเย็นสัก 3-5 นาที เพื่อให้เลือดหยุดไหล