ฟันปลอมถอดได้
ฟันปลอมเป็นเทคนิคการสร้างวัตถุ (หรือชิ้นงาน)ทดแทนฟันที่ได้รับความนิยมมากในอดีตจนถึงปัจจุบัน ฟันปลอม ที่นิยมใช้มาแต่เดิมเป็นการออกแบบชิ้นงานฟันบนฐานอะครีลิกหรือโลหะ ให้คนไข้สวมเข้าไปเพื่อทดแทนฟันที่สูญหายไปแล้ว ถึงแม้ว่าในแง่ความสะดวกสบาย และราคาถูกกว่าวิธีการอื่น แต่ตัวคนไข้เองจะรับรู้ความรู้สึกได้ว่าไม่เหมือนการใช้งานฟันตามธรรมชาติ จึงทำให้มีการพัฒนาเทคโนโลยีการทำฟันปลอมที่คงทนและใช้งานเหมือนฟันจริงมากขึ้น จึงมีพัฒนาการของการใส่ฟัน เป็นลำดับ ดังนี้
โลหะเป็นฟันปลอมชนิดถอดเข้าถอดออกได้ ไปจนถึงการออกแบบครอบฟัน หรือ สะพานฟัน เป็นฟันปลอมชนิดติดแน่น จะสะดวก และใช้งานได้ถนัดกว่า
ฟันปลอมทั้งปาก (Full Denture) หรือ Complete Denture ส่วนใหญ่ใช้กับผู้สูงอายุที่ฟันเหลืออยู่น้อย และสภาพไม่พร้อมใช้งาน ทันตแพทย์จะทำการวัดและออกแบบชิ้นฟันปลอมตามลักษณะโครงสร้างขากรรไกร จากนั้นจะทำการถอนฟันจนหมด ถึงจะสามารถใส่ชิ้นฟันปลอมเข้าไปได้ ฟันปลอมแบบนี้ อาจจะต้องมีการมาปรับแก้ชิ้นงาน เพราะอาจเกิดการเปลี่ยนแปลงของขากรรไกร ทำให้ชิ้นฟันปลอมเคลื่อนหรือหลวมได้
ฟันปลอมนั้น แบ่งออกเป็นหลายรูปแบบ
ฟันปลอมบางส่วน (Partial Denture)
ฟันปลอมรูปแบบนี้ถูกออกแบบมาเพื่อทดแทนฟันที่หายไปบางซี่ ซึ่งการรักษาสามารถเป็นไปได้หลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นชิ้นฟันปลอมบนฐานอะครีลิกหรือ
การดูแลรักษาหลังเข้ารับการทำฟันปลอมถอดได้
-
การใช้งานช่วงแรก อาจมีอาการเจ็บตึง หากทนเจ็บไม่ไหว ควรมาพบทันตแพทย์เพื่อปรับแต่งฟันปลอม
-
หากฟันปลอมกดทับจนเหงือกปวดบวม ให้นัดพบทันตแพทย์ ห้ามดัดและแก้ไขเอง
-
วิธีใส่ฟันปลอม อย่าใช้วิธีกัดเพื่อให้เข้าตำแหน่ง เพราะจะทำให้ชิ้นงานฟันปลอมเสียหาย
-
หลีกเลี่ยงการเคี้ยวอาหารแข็งเหนียว
-
ไม่ควรใส่ฟันปลอมในขณะนอนหลับ เพราะจะทำให้เหงือกอับชื้นหรืออักเสบได้ ควรถอดฟันปลอมแช่น้ำเอาไว้
-
ทำความสะอาดฟันปลอมเป็นประจำทั้งหลังมื้ออาหารและก่อนนอน
-
ควรหาภาชนะมารองรับ ในระหว่างทำความสะอาด เพื่อป้องกันฟันปลอมตกแตกเสียหาย
-
แนะนำให้มีการทำฟันปลอมชุดสำรองเพื่อมีไว้ใช้งานได้ทันทีเมื่อฟันลอมชุดเดิมสูญหายหรือแตกหัก
-
ควรมาตรวจเช็ค สภาพฟันปลอม ทุก 6 เดือน