top of page
190804_ND_Archive_B-01.png

ครอบฟัน

ครอบฟัน เป็นการทำฟันปลอมชนิดติดแน่น โดยการออกแบบชิ้นงานมาครอบแทนเนื้อฟันที่เสียหายเกินกว่าจะบูรณะด้วยวิธีการพื้นฐานอย่างอุดฟัน ซึ่งคนไข้สามารถเลือกวัสดุในการทำครอบฟันที่หลากหลายตามราคาและการใช้งานของฟันซี่นั้นๆ ตั้งแต่พอร์ซเลนที่สามารถเลือกสีเนื้อฟันให้เป็นธรรมชาติ กลมกลืนกับฟันซี่อื่นๆ ไปจนถึงการใช้ทองหรือโลหะผสมเพื่อความแข็งแรงและบดเคี้ยวได้ดีกว่า ทั้งนี้หากคนไข้ดูแลรักษาครอบฟันอย่างถูกต้องและเหมาะสม ครอบฟันสามารถมีอายุได้ยาวนานถึง 10-20 ปี 

190804_ND_Archive_B-02.png

ขั้นตอนการทำครอบฟัน

  • ตรวจสอบสุขภาพฟัน และความเสียหายของรากฟันซี่ที่ต้องการทำครอบฟัน 

  • กรอเนื้อฟันบางส่วนออก ทำการวัดและออกแบบชิ้นครอบฟันที่เหมาะสม

  • ออกชิ้นงานครอบฟันชั่วคราว เพื่อรอชิ้นงานจริง

  • ปรับแก้ชิ้นงานตามการใช้งานของคนไข้ ก่อนจะส่งไปทำชิ้นงานจริงที่ Lab

  • ติดตั้งชิ้นงานจริงแทนชิ้นงานชั่วคราว  พร้อมปรับแต่งให้เคี้ยวได้ตามความเหมาะสมหน้างาน  และยึดติดชิ้นงานจริงให้แน่นหนา พร้อมใช้งานจริง 

นอกจากนี้ ทันตแพทย์จะแนะนำให้คนไข้ทำครอบฟันในกรณีอื่นๆ ได้แก่

  • ฟันที่อ่อนแอ มีความเสี่ยงที่จะแตกร้าว ความเสียหายลามเข้าประสาทฟัน

  • ฟันที่ผุกร่อนเสียหาย จนไม่สามารถอุดฟันได้ตามปกติ

190804_ND_Archive_B-03.png
  • โดยปกติ คนไข้ที่มีการรักษารากจะแนะนำให้ทำครอบฟันเพื่อหลีกเลี่ยงความเสียหาย  ที่อาจเกิดขึ้นจากฟันแตกร้าว  อันเนื่องจากรากฟันสูญเสียความแข็งแรง  ซึ่งอาจต้องถอนฟันซี่นั้นไปในที่สุด

  •  ฟันที่เสื่อมสภาพจากสาเหตุต่างๆ เช่น กรดไหลย้อน นอนกัดฟัน   ฟันมีสีเข้มจากการใช้ยาเตตระไซคลิน

  • ปรับปรุงรูปลักษณ์ฟันไม่สวย มีช่องว่างระหว่างฟัน ฯลฯ

190804_ND_Archive_B-06.png

การดูแลรักษาหลังเข้ารับการทำครอบฟัน

  • ทำตามคำแนะนำ และมาตามการนัดหมายของทันตแพทย์อย่างเคร่งครัด เพื่อผลสำเร็จในการรักษา

  • ทำความสะอาดสม่ำเสมอ ตามที่ทันตแพทย์แนะนำ

  • ควรได้รับการตรวจ สุขภาพฟันและครอบฟัน ทุก 6 เดือน

  • หากมีปัญหาในการใช้งาน หรืออาการผิดปกติ เช่น ครอบฟันขยับ ปวดฟัน เสียวฟัน เป็นต้น ให้รีบนัดพบทันตแพทย์

  • อาหารที่แข็ง/เหนียวเกินไป และการใช้งานผิดประเภท อาจทำให้ครอบฟันชำรุดได้

bottom of page