การรักษารากฟัน
การรักษารากฟัน ในอดีตที่ผ่านมาเมื่อฟันผุลึกจนถึงโพรงประสาทฟัน ทำให้ฟันเป็นหนอง หรือการเกิดอุบัติเหตุที่มีการกระแทกจนฟันแตกหักถึงส่วนโพรงประสาทฟัน เป็นสาเหตุให้เชื้อโรคจากน้ำลายลุกลามเข้าไปจนถึงโพรงประสาทฟัน มักจะต้องจบด้วยการถอนฟัน แต่ในปัจจุบันเรามีทางเลือกให้คนไข้ในการรักษารากฟัน เพื่อเก็บรักษาฟันเอาไว้ เพราะหากถอนฟันออกไป จะส่งผลต่อฟันที่อยู่รอบข้าง ไปจนถึงปัญหาในการบดเคี้ยว ดังนั้น ทางเลือกที่หลีกเลี่ยงการถอนฟัน ทันตแพทย์จะแนะนำให้ทำการรักษารากฟัน เพราะหากไม่ทำการดูแลรักษาอย่างทันท่วงที อาจกระทบการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น อาการปวดฟันจนนอนไม่หลับ เสียวฟัน ไปจนถึงฟันเปลี่ยนสี เหงือกบวม เกิดตุ่มหนองบริเวณรากฟัน เป็นต้น
โดยขั้นตอนการรักษารากฟัน เริ่มต้นจากการกำจัดเนื้อเยื่อในโพรงประสาทฟันและคลองรากฟันที่เสียหาย หรือมีการติดเชื้อออก จากนั้นจึงทำความสะอาดคลองรากฟัน และจบการรักษาด้วยการอุดคลองรากฟัน รวมทั้งบูรณะเนื้อฟันให้สามารถกลับมาใช้งานได้ตามปกติ โดยปกติขั้นตอนทั้งหมดจะใช้เวลาในการรักษา 2-3ครั้ง ขึ้นอยู่กับความยากง่ายและระดับความเสียหายของฟัน
การดูแลรักษาหลังเข้ารับการรักษารากฟัน
-
หลังการรักษารากฟัน ควรงดรับประทานอาหารจนกว่าอาการชาที่ปากจะหมดไป เพื่อป้องกันการกัดลิ้นหรือกระพุ้งแก้มโดยไม่ตั้งใจ
-
รักษาความสะอาดด้วยการแปรงฟันและใช้เส้นไหมขัดฟันได้ตามปกติ
-
หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่แข็ง / เหนียว
-
หากมีอาการผิดปกติ เช่น ปวด บวมมาก เคี้ยวไม่เสมอกัน ฟันสบไม่พอดี ให้นัดพบทันตแพทย์ เพื่อดูอาการ